tel.029304500

คำถาม

คำถามที่เจอบ่อย 

1.เจอรปภ.ควงเวร /หลับเวร

คำตอบ กรณีรปภ.หลับเวร บางกรณีอาจจะเกิดจากรายได้ไม่เพียงพอ พนักงานรปภ.จึงขอทำงานควบกะเสริมรายได้ หรือพนักงานรปภ.บางท่าน อาจจะไปหารายได้ภายนอกเช่น วิ่งวินมอเตอร์ไซค์ ขับไรเดอร์ส่งของส่งอาหาร หรืออาจจะทำงานเสริมประเภทอื่นเพื่อให้มีรายได้ หากเจอปัญหาในลักษณะนี้ให้เรียกรปภ.มาคุยเป็นส่วนตัว หากทำหน้าที่รปภ.อย่างเดียวแล้วรายได้ไม่เพียงพอ อาจจะบอกเจ้าตัวให้หางานประเภทอื่นที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์หรือชีวิตที่เหมาะกับครอบครัวของตนเอง แต่หากฝึกแล้วเกิดการหลับเวร อาจจะสร้างเสียหายให้กับธุรกิจ และตัวของเค้าเองให้เกิดอันตราย แต่อาจเป็นด้วยเหตุผลการพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือพฤติกรรมขี้เกียจไม่ทำงาน ให้มีกล่าวเตือนลงโทษตามระเบียบ หากยังไม่ดีขึ้น แจ้งไปยังผู้ให้บริการเปลี่ยนตัวพนักงานคนใหม่มาทดแทน และเน้นย้ำไม่หาพนักงานที่มีพฤติกรรมเหมือนคนเก่าที่ผ่านมา

2.รปภ.ไม่ครบตามสัญญาจ้าง 

คำตอบ ปัญหานี้เกิดจาก พนักงานรักษาความปลอดภัย บริษัทผู้ให้บริการมีกำลังพลไม่เพียงพอต่อการจัดจ้าง ทำให้เกิดการควงเวรเกิดขึ้น วิธีแก้ปัญหา ให้บริษัทผู้ให้บริการ จัดส่งรายชื่อและประวัติพนักงารปภ.ตัวสำรองไว้ให้กับลูกค้าล่วงหน้าเมื่อพนักงานไม่เพียงพอก็ให้พนักงานรายชื่อที่แจ้งไว้มาปฏิบัติหน้าที่แทน และหากยังเจอข้อพกพร่องลักษณะเดิม แนะนำให้จัดจ้างผู้ให้บริการรปภ.รายใหม่

3.รปภ.ขโมยของเสียเอง 

คำตอบ พฤติกรรมปัญหานี้ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงต่อบุคคลที่มาทำอาชีพรปภ. แนะนำให้ลูกค้าผู้ใช้บริการ แจ้งความดำเนินคดีให้ถึงที่สุด พร้อมทั้งขึ้นแบล็กลิสต์ระบบดาต้ากลางของสมาคมรักษาความปลอดภัย และลูกค้าผู้ใช้บริการเรียกร้องความเสียหายจากบริษัทผู้ให้บริการรปภ.และควรเปลี่ยนบริษัทผู้ให้บริการเป็นบริษัทอื่นทดแทน

4.ทรัพย์สินถูกโจรกรรม 

คำตอบ การใช้เจ้าหน้าที่รปภ. ส่วนมากลูกค้าผู้ใช้บริการมักจะใช้กำลังน้อยกว่างานที่มี ส่วนใหญ่คิดว่า ไม่ค่อยเกิดปัญหามีโจรกรรม แต่จริงๆแล้ว พนักงานรปภ.ที่มาดูทรัพย์สินลูกค้าส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นพนักงานให้บริการ จนบางครั้งอาจจะเผลอลืมไปว่าโจรผู้ร้ายกำลังเฝ้ามองที่จะก่อเหตุ ดังนั้นลูกค้าผู้ใช้บริการควรติดตั้งกล้องวงจรปิดหรือสัญญาเตือนภัย ควบคู่ขนานไปกับการใช้พนักงานรปภ. แต่หากโจรขโมยเข้ามาก่อเหตุเป็นการง่ายดายและพนักงานรปภ.ไม่ระงับเหตุหรือไม่พึงระวังเหตุอันสมควรแนะนำให้เปลี่ยนพนักรปภคนใหม่หรืออาจจะเปลี่ยนบริษัทผู้ให้บริการรปภเป็นรายอื่นมาแทน

5.พนักงานรปภ.เสพสารเสพติด 

คำตอบ ด้วยข้อห้ามของคุณสมบัติการเข้าเป็นพนักงานรปภ.อาชีพหรือพนักงานรปภ.รับอนุญาต มาตรา34 พ.ร.บ.ธุรกิจรักษาความปลอดภัยพ.ศ.2558 เป็นกฎหมายที่คัดครองบุคคลจะมาประกอบอาชีพดังนั้นทุกคนต้องใส่ใจแต่มีบุคคลนึงบุคคลใดละเลยถือว่าขัดต่อกฎหมาย จะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่ได้ เว้นเสียบุคคลดังกล่างเคยต้องโทษทางอาญาต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า3ปี หากลูกค้าผู้ใช้บริการเจอปัญหาดังกล่าวนี้ นั่นท่านกำลังได้บุคคลที่ไม่รักในการประกอบอาชีพของตนเอง ดังนั้นไม่สมควรเอาบุคคลดังกล่าวนี้มาเป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยธุรกิจของท่านหากเมื่อท่านตรวจเจอเมื่อไหร่ก็สมควรปลดพ้นสภาพหรืออาจจะดำเนินคดี ทั้งทางอาญาและเพิกถอนใบอนุญาต การเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยตามใบอนุญาตตามข้อความข้างต้น ดังนั้นบริษัทผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยจะทราบและตระหนักเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงสมควรออกสุ่มตรวจสารเสพติดพนักงานในสังกัดตัวเองอยู่บ่อยครั้งเพื่อเป็นการป้องปรามและเมื่อตวรจเจอเมือ่ไหร่ ส่งไม่ตัวไปตรวจสถานพยาบาลเพื่อออกเอกสารรับรองส่งต่อให้นายทะเบียนกลางถอดถอนใบอนุญาตการเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยและดำเนินคดีให้ถึงที่สุดเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อพนักงานรักษาความปลอดภัยรายอื่นๆ

6.อื่นๆ

ท่านเจอปัญหานอกเหนือจากที่ระบุมานี้ให้พิมเป็นข้อความส่งให้เจ้าหน้าที่ของเราตอบ

Visitors: 303,646